หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ต่อมทอนซิลโตดูแลด้วยน้ำดื่มแอคทิเวท


เนอสเซอรี่ หรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กดูเหมือนจะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่พ่อแม่สมัยนี้ต้องนำลูกไปฝากเลี้ยงอันเนื่องเพราะการงานที่ต้องรับผิดชอบของทั้งสองฝ่าย อีกทั้งการจะหาพี่เลี้ยงสักคนที่ไว้ใจได้ก็ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่หายาก ครอบครัวของคุณชลรสก็เช่นกันต้องนำลูกชายอายุราวๆ 8 เดือนไปฝากไว้เนอสเซอรี่ ก็เพราะพี่เลี้ยงลาออก และเป็นเรื่องปกติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำก็มักจะเจ็บป่วยเมื่อต้องอยู่ร่วมกันกับเด็กหลายๆ คนในวัยไล่เลี่ยกัน 

ช่วงแรกที่ ด.ช.ชาลี ต้องเข้าไปอยู่ที่เนอสเซอรี่นั้น ได้มีอาการป่วย มีไข้ มีน้ำมูกไหลอยู่บ่อยๆ นอกจากนี้ปัญหาที่หนักหน่วงอีกประการหนึ่งเวลาป่วยเห็นจะเป็นเรื่องการกินยา เพราะเป็นเด็กที่กินยายาก และแทบจะไม่ทานยาเลย ทุกครั้งที่ทานยาจะอาเจียนออกหมด คุณชลรสผู้เป็นแม่ได้แต่เพียงเช็ดตัวให้เพื่อลดความร้อน อาการเจ็บป่วยนี้ทำให้ ด.ช.ชาลี ต้องไปพบแพทย์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 

ต้นเดือนพฤษภาคม 2554 ด.ช.ชาลี มีอาการนอนกรนเสียงดัง นอนหลับไม่สนิท บางครั้งนอนอ้าปากหายใจ ด้วยเหตุนี้คุณแม่จึงพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หลังจากที่ตรวจและเอ็กซเรย์ 
“ผลปรากฏว่ามีอาการโพรงจมูกบวม ต่อมทอนซิลโต และต่อมอะดีนอยด์โต ซึ่งต่อมดังกล่าวทำหน้าที่มากที่สุดในช่วงอายุ 1 ปีขึ้นไปจนถึง 3-4 ปี และจะค่อยๆ ลดบทบาทลง และฝ่อไปในที่สุดเมื่ออายุครบ 7-10 ปี นอกจากนี้แพทย์ยังบอกอีกว่า หากต่อมอะดีนอย์ดโตแล้วจะยุบยาก อย่างมากในเด็กเล็ก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด”

ความกังวลใจของคุณแม่มีมากขึ้นเมื่อแพทย์แจ้งว่า การรักษาในเบื้องต้นของด.ช.ชาลีนั้น  จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ และใช้ยาพ่นจมูกก่อน หากอาการไม่ดีขึ้น อาจถึงขั้นต้องใช้วิธีการผ่าตัดเอาต่อมอะดีนอยด์ และต่อมทอนซิลออก ด้วยเหตุนี้ทำให้คุณชลรสต้องหาทางเลือกใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ ด.ช.ชาลี ต้องเข้ารับการผ่าตัด

“เริ่มแรกดิฉันทำตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ทุกอย่าง ทำความสะอาดบ้านแบบมโหฬาร ดูดฝุ่น ซักผ้าม่าน ล้างเครื่องปรับอากาศ ในเดือนแรกลูกเริ่มได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นไปได้ด้วยความทุลักทุเล เพราะเขาทานยายากมาก”
“แต่สิ่งที่ทำให้ดิฉันรู้สึกประหลาดใจอย่างมากก็คือ น้องชาลีไม่ได้ดื่มน้ำดื่มแอคทิเวท มาเป็น เวลา 2 เดือนก่อนมีอาการนอนกรน เพราะเครื่องน้ำดื่มแอคทิเวท พี่สาวจึงแบ่งน้ำดื่มแอคทิเวทมาให้น้องชาลีดื่มต่อ” 

“หลังจากที่พบคุณหมอตามที่นัดไว้เป็นประจำเดือนละครั้ง ควบคุมสิ่งแวดล้อม ให้ลูกดื่ม น้ำดื่มแอคทิเวท น้ำผลไม้ รับประทานข้าวกล้องและธัญพืชต่างๆ อาการโดยรวมดีขึ้น นอนหลับได้ดี ซึ่งหมายถึงขนาดต่อมต่างๆ ที่ขวางทางเดินหายใจได้เล็กลงจนมีช่องว่างเหลือเพียงพอที่จะหายใจได้สะดวกขึ้น แต่ก็ต้องรักษาต่อไปเนื่องจากต้องอาศัยเวลาจนกว่าจะฝ่อไปในที่สุด”

“ในระหว่างที่รักษาอยู่นี้ ต้องดูแลรักษาสุขภาพของลูกให้ดีที่สุดเพราะหากมีอาการเจ็บป่วย ต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งอาจจะไปปิดกั้นการหายใจทำให้นอนกรน และนอนหลับไม่สนิท มีผลต่ออารมณ์ ร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการของน้องได้”


สู้กับต่อมอะดีนอยด์ และต่อมทอนซิลโต

ผู้เล่าเรื่อง ชลรส
อาชีพ พนักงานรัฐวิสาหกิจ